วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติเทคโนโลยีการผลิต

http://kittinun20091.blogspot.com/

ประวัติเทคโนโลยีการผลิต





คณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต



1. ประวัติของคณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต



มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บริเวณทุ่งตะโกราย ห่างจากจุดศูนย์กลางเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 320ไร่ เปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2499 โดยขอใช้อาคารไม้ของโรงเรียนการช่างนครราชสีมา(วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา) เป็นสถานศึกษา เริ่มแรกมี 3 แผนก คือ



1. แผนกวิชาบัญชีและเลขานุการ



2. แผนกวิชาช่างก่อสร้าง



3. แผนกวิชาช่างไม้



26 กรกฎาคม 2499 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนหลังแรก (ตึกคณะบริหารธุรกิจ) โดยพณฯ ท่านพลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน



นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2500 เป็นต้นมา วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ขยายตัวทั้งทางด้านอาคารเรียน สถานที่ เครื่องมือ เจ้าหน้าที่และได้ขยายการศึกษาโดยเปิดแผนกวิชาเพิ่มสูงขึ้นโดยการขยายการศึกษาของสถาบัน เป็นดังนี้



- ปี พ.. 2500 เปิดแผนกวิชาเขียนแบบสถาปัตยกรรม



- ปี พ.. 2501 เปิดแผนกวิชาช่างยนต์ ช่างกลโลหะ ช่างไฟฟ้า



- ปี พ.. 2507 เปิดรับนักศึกษาผู้สำเร็จ ม.. 5 เข้าเรียนในแผนก วิชาช่างกลโลหะ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง



- ปี พ.. 2512 วข.. ได้ดำเนินการขอสิทธิครอบครองที่ดิน ที่ตำบลหนองระเวียง ประมาณ 2,500 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่ฝึกวิชาชีพภาคสนาม และเตรียมการขยายกิจการของ วข.. ในอนาคต



- ปี พ.. 2513 เปิดสอนภาคบ่าย



- ปี พ.. 2513 เปิดรอบเช้า แผนกฝึกหัดครูมัธยมอุตสาหกรรม (โลหะ) 1 ห้อง สังกัดคณะวิชาการศึกษา (เป็นนักศึกษาที่กรมอาชีวศึกษาส่งมา)



- ปี พ.. 2520 วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือนครราชสีมาได้ย้ายโอนเปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือนครราชสีมา กรมอาชีวศึกษา มาขึ้นกับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



- ปี พ.. 2527 ย้ายแผนก ปม. (โลหะ) มาสังกัด แผนกวิชาช่างโลหะ



- ปี พ.. 2528 เปลี่ยนแผนภูมิการบริหาร วข..โดยอาศัยแผนภูมิการบริหารของกรมฯ ได้มีการจัดรูปแบบการบริหารใน ระดับคณะวิชาใหม่ ของคณะวิชาเทคนิคการผลิต ประกอบด้วย



1. แผนกวิชาช่างโลหะ



2. แผนกวิชาช่างกลโรงงาน



-ปี พ.. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ใหม่เป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2531



- ปี พ.ศ. 2532 เปิดสอนแผนกวิชาช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ และเปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เพิ่มเป็นแผนกและสาขาในสังกัดคณะเทคนิคการผลิต



-ปี พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อคณะวิชาเทคนิคการผลิตเป็นคณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต



-ปี พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใหม่เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2547



2. โครงสร้างการบริหารของคณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต



3. สถานที่ตั้ง



สำนักงานคณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต ตั้งอยู่ที่ อาคาร 16 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 744 หมู่ที่ 6 ถนนสุรนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000



โทรศัพท์/โทรสาร 0 4427 2098



4. ข้อมูลทั่วไปของคณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต



4.1 การจัดการศึกษา



ปีการศึกษา 2546 คณะวิชาเทคโนโลยีการผลิต สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดการศึกษา 2 หลักสูตร คือ



1. ระดับต่ำกว่าปริญญา หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 3 หลักสูตร



1.1 หลักสูตร 2 ปี รับนักศึกษาวุฒิ ปวช. สาขาช่างกลโรงงาน



1.2 หลักสูตร 2 ปี รับนักศึกษาวุฒิ ปวช. สาขาช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์



1.3 หลักสูตร 2 ปี รับนักศึกษาวุฒิ ปวช. สาขาช่างโลหะ



2. ระดับปริญญา 2 หลักสูตร



2.1 หลักสูตรยกเว้นรายวิชา ปี รับนักศึกษาวุฒิ ปวส. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ใช้เวลาศึกษา 3 ปี



2.2 หลักสูตร 4 ปี รับนักศึกษาวุฒิ ปวช. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ



โดยจัดเวลาเรียนเป็นภาคปกติ ภาคบ่าย และภาคสมทบ การจัดการศึกษาทั้ง 2 ระดับ อยู่ในความรับผิดชอบของแผนกวิชาต่าง ๆ จำนวน 3 แผนกวิชา 1 สาขาวิชาดังนี้



1. แผนกวิชาช่างกลโรงงาน



2. แผนกวิชาช่างโลหะ



3. แผนกวิชาช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์



4. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ



4.2 บุคลากร



6.2.1 อาจารย์ผู้สอน



§ จำนวนอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 25 คน อาจารย์อัตราจ้าง 5 คน ลาศึกษาต่อ 2 คน



§ อัตราส่วนวุฒิปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรี เป็น 0 : 2 : 1



§ อัตราส่วนตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ : รองศาสตราจารย์ เป็น 33 : 1 : 0



6.2.2 บุคลากรสนับสนุน



§ ลูกจ้างประจำ จำนวน 2 คน



§ ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 11 คน



§ รวมทั้งสิ้นคน จำนวน 15 คน4

4แผนกช่างกลโรงงาน

เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างกลโลหะ หลักสูตร 2 ปี ปีพ.ศ. 2537 เปิดสอนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างกลโรงงาน วุฒิการศึกษา ม. 4 สายวิทย์ คณิต และปีพ.ศ. 2541 เปิดสอนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างกลโรงงาน หลักสูตร 4 ปีวุฒิการศึกษา ม. 6 สายวิทย์ คณิต ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 145 คน จำนวน 5 ห้องเรียน ภาคเช้า และภาคบ่าย และชั้นปีที่ 3 หลักสูตร 3 ปี



4. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร



เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถ



1. ปฏิบัติการเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับงานกลึง งานกัด งานใส งานเจียรไน และเครื่องจักรควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CNC) CAD/CAM ตลอดจนงานผลิตที่มีความที่มีความเที่ยงตรงสูง และการผลิตจำนวนมาก (Mass Production)



2. ปฏิบัติหน้าที่ช่างเทคนิค หรือผู้ช่วยวิศวกร หรือหัวหน้าโรงงานที่เกี่ยวกับการควบคุม เครื่องจักรกลทั่วไป และเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ใช้ผลิตชิ้นส่วน และการซ่อมบำรุงตลอดจนประสานงานระหว่างช่างฝีมือกับวิศวกร



3. ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ เครื่องจักรกลในโรงงาน การวางแผนการผลิตวิเคราะห์ขั้นตอน การทำงาน ให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติการติดตามรวบรวมข้อมูล และประเมินผลงานเพื่อเสนอหัวหน้าหน่วยงาน



4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ และแสดงออกในทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติวิชาชีพ



5. มีคุณธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม



4.6.3 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา



เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขาวิชาช่างเครื่องมือกล สาขาวิชาช่างจิ๊กและฟิกเจอร์